ภาพกิจกรรมของหน่วย
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๔ สำนักงานพัฒนาภาค ๓ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
- รายละเอียด
- หมวด: ผู้บังคับบัญชา
- ฮิต: 10090
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๔ สำนักงานพัฒนาภาค ๓ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๔ สำนักงานพัฒนาภาค ๓ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
*****************************
ประวัติการจัดตั้งศูนย์ฯ
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา โดยสำนักงานทหารพัฒนาได้มีโครงการจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา“เทิดไท้มหาราชัน”ขึ้น ๖๐ แห่งเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ ๖๐ ปีในสมัยรัชกาลที่ ๙ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๔ ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงได้รับมอบให้ตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้นเพื่อเป็นการน้อมนำเอาแนวพระราชดำรัส ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับบุคคลทั่วไปหรือเกษตรกรได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ เพื่อเป็นแนวทางและต้นแบบในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้ตามหลักปรัชญา เศรษกิจแบบพอเพียง
แผนที่ศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา “เทิดไท้มหาราชัน”
ศูนย์การเรียนรู้ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วนหลักดังนี้
๑.พื้นที่อาคารส่วนกลาง
อาคารส่วนกลางจะใช้เป็นพื้นที่ต้อนรับ และบรรยายความรู้ให้กับผู้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ


บ้านพอเพียง ๑ ไร่ เป็นการสาธิตการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ประมาณ ๑ ไร่โดยการ เลี้ยงปลาเลี้ยงเป็ด ทำสวนกล้วยโดยใช้พลังจากแผงโซลาร์เซลไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์ปั้มน้ำเพื่อใช้ทำระบบน้ำใช้ในการเกษตรเพื่อเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน


ส่วนที่ ๓ ส่วนฐานการเรียนรู้
หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๔ ได้ตั้งฐานการเรียนรู้ทั้งหมด ๖ ฐานการเรียนรู้ดังนี้
๑.ฐานการเรียนรู้การ เลี้ยงไก่พื้นเมือง

ไก่พื้นเมือเป็นไก่ที่มีความแข็งแรงหากินเก่ง ต้านทานต่อโรคได้ดี เจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้ในหลายๆสภาพแวดล้อม ตลาดมีความต้องการบริโภคสูงเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องมีโรงเรือนที่เหมาะสม มีพื้นที่ปล่อยตามธรรมชาติ พื้นที่ควรเป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วมขังเลี้ยงในลักษณะผสมผสานดูแลสุขภาพไก่โดยการให้วัคซีนตามวงรอบอายุ
การเลี้ยงไก่พื้นเมือง อาหารควรเป็นอาหารที่สามารถหาได้ในพื้นที่ หรือผลิตเองได้ เช่นข้าวเปลือก รำ ข้าวโพด หญ้าเนเปียร์ เพื่อเป็นการลดต้นทุนอีกทางหนึ่งด้วย
เป็นปลาที่หาได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติโดยทั่วไปเหมาะที่จะเลี้ยงเพื่อไว้บริโภคหรือจำหน่าย เช่น ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาดุกปลาเป็นต้น ปลาประเภทนี้ ชอบกิน เศษพืช ผัก หญ้าและเศษอาหารในครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีวิธีการทำอาหารโดยใช้ธรรมชาติให้ปลากินเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้อีกด้วย
๓.ฐานสาธิต การผลิตน้ำหมักชีวภาพ
น้ำหมักชีวภาพได้มาจากการนำเศษผัก ผลไม้ หรือ พืชนำมาหมักเพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในหลายๆด้านเช่น ผสมน้ำฉีดพ่นเพื่อดับกลิ่น ผสมน้ำรดหรือพ่นต้นไม้ หรือผสมให้สัตว์กินได้อีกด้วย
๔.ฐานสาธิต การใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์
เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า กระแสตรงร่วมกับอุปกรณ์อื่นเพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานไฟฟ้าที่ได้แล้วนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรเช่น นำไปใช้กับปั้มน้ำ เพื่อทำระบบน้ำเพื่อรดต้นไม้ หรือใช้กับอุปกรณ์ให้แสงสว่างได้ด้วย
ผักสวนครัว ย่อมมีความจำเป็นในการทำอาหารเพื่อบริโภคต่อการใช้ชีวิตประจำวันเพราะใช้ทำเป็นอาหารไว้รับประทานในครัวเรือน ทั้งยังสามารถปลูกไว้จำหน่ายเพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนด้วย
๖.ฐานสาธิตปุ๋ยดินอินทรีย์
เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำวัตถุอินทรีย์ชนิดต่างๆมาหมักตามกระบวนการโดยการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือ EM เพื่อเร้ากระบวนการหมักทำให้เกิดปุ๋ยจากอินทรียวัตถุที่มีการปล่อยธาตุอาหารได้เร็วขึ้นโดยการน้ำเศษใบไม้ วัชพืชหญ้าแห้งและแกลบนำมาหมักเพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายเพื่อไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ไข่ไก่ที่เห็นตามท้องตลาดหรือในร้านค้าล้วนแต่ได้มาจากฟาร์มไก่ไข่ที่มีอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทยทางหน่วยงานรัฐบาลจึงมีการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยและชาวบ้านทั่วไปที่มีความสนใจที่จะเลี้ยงไก่ไข่เพื่อบริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย โดยพันธุ์ไก่ไข่ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยก็จะมีพันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์แดง เป็นต้น
ไก่งวง(Turkey)ชื่อวิทยาศาสตร์ Meleagrisgallopavo M. gallopavoพบในอเมริกาเหนือ และ M. ocellataพบในอเมริกากลาง ไก่งวงมี 2 ชนิด คือ ขนสีขาวล้วน และขนสีบรอนช์ เปลือกไข่มีสีขาวนวลและมีจุดกระสีน้ำตาล สมาคมสัตว์ปีกของสหรัฐ (Aoultry Association) ได้กำหนดลักษณะมาตรฐานของพันธุ์ไก่งวง ไว้ 7 ชนิด (Varietics) ได้แก่ บรอนซ์ (Bronze) ไวท์ฮอลแลนด์ (White Holland) บอร์บอนเรด (Bourbon Red) นาราแกนเซท (Naragansett) ดำ (Black) สาเลท (Slate) และ เบลท์สวิลล์สมอลไวท์ (Beltsville Small White) สำหรับผู้เลี้ยงในประเทศไทยพันธุ์ไก่งวงที่นิยมเลี้ยงได้แก่ อเมริกันบรอนซ์ (American Beonze) เบลท์สวิลล์สมอลไวท์ (Beltsville Small White)
ไก่พื้นเมืองสามารถพบได้ทั่วไปของภูมิภาคเอเชีย และทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยการเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารโดยไก่พื้นเมืองจะมีรสชาดดีเนื้อแน่น ส่วนหนึ่งก็จะเลี้ยงเพื่อแข่งขันสวยงาม และเป็นไก่ชนเพื่อเพิ่มมูลค่าในการเลี้ยง ไก่พื้นเมืองมีต้นกําเนิดมาจากไก่ป่าในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นไทย มาเลเซีย และจีนตอนใต้มนุษย์ได้นํามาเป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อประมาณ 3,000 ปี ก่อ เพื่อเป็นอาหาร
ส่วนที่ ๔ ส่วนพื้นที่การตลาด
เป็นพื้นที่ในการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตรที่เป็นผลิตผลของศูนย์การเรียนรู้ ของหน่วนพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๔ เช่น ผัก ผลไม้ และยังนำผลผลิตไปจำหน่ายยังตลาดในพื้นที่ด้วย